บทความแรกอยากจะขอเริ่มกันที่ทฤษฎีที่สำคัญที่สุดจากการตกผลึกจากการเห็นสินค้าที่ขายดีเป็นว่าเล่นมาหลากหลายแบรนด์ ซึ่งก็คือ Theory is no matter หรือ ทฤษฎีสร้างได้ทุกวัน
ตั้งแต่ช่วงแรกๆที่เริ่มออกแบบบรรจุภัณฑ์ ลูกค้าบางคนกลัวว่าบรรจุภัณฑ์อาหารถ้าใช้สีดำจะดูอันตรายมั๊ย จะเหมาะกับสินค้าอาหารมั๊ย ซึ่งหลังจากนั้นสีดำก็เป็นที่นิยมในกลุ่มอาหาร เพราะเป็นสีที่แสดงความพรีเมียม หรือดูเป็นภาพลักษณ์แบบสากล
จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับทฤษฎีที่ใครหลายคนเคยคิดเลยด้วยซ้ำ
นี่เป็นเรื่องแรกที่ผมจำได้ไม่เคยลืม และมันก็มีมาอีกเรื่อยๆ ตัวอย่างแรกเป็นเรื่องของสี เรื่องถัดไปเป็นเรื่องของภาษา
ซึ่งหลายแบรนด์มีความคิดว่า ของขายในประเทศไทยต้องมีภาษาไทยบอกชัดเจนว่าสินค้า คืออะไร
แต่ก็มีสินค้าที่ขายดีเป็นเบอร์1 ในตลาที่ใช้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษล้วน แถมกลุ่มผู้ซื้อก็เป็นกลุ่ม
ที่น่าจะอ่านไม่ออกซะด้วย ทำเอาทฤษฎีที่ก็ดูมีเหตุผล กลับไม่เป็นจริงไปอีกแล้ว
มีสินค้าอะไรที่ขายดีๆแล้วดีไซน์ฉีกทฤษฎีกันอีกบ้าง เทรนด์มินิมอลที่ได้รับความนิยมกันสุดขีดตอนนี้ก็ทำให้สายข้อมูลหงายเงิบกันเป็นแถว บางแบรนด์มีแค่โลโก้ด้านหน้า
หรือบางแบรนด์มีแค่จุดขายเพียงอย่างเดียวเน้นๆ เหลือที่ว่างโล่งให้ขัดใจทฤษฎีที่ว่าต้องมีข้อมูลประกอบแน่นๆ ใช้ประโยชน์ทุกตารางเซ็นให้เป็นจุดขาย
ซึ่งสไตล์นี้ก็ดูจะอยู่ยาว เพราะด้วยความเรียบทำให้ดูสากลและมีรสนิยมแบบคนยุคใหม่
ลองใช้สไตล์นี้ดูกันนะครับ
และล่าสุดกับ soft power of design อย่างความน่ารัก ที่โดนใจลูกค้าทุกวัย
ไม่ว่าจะวัยใสไปถึงแม่ๆประจำด้อม ซึ่งก็ปิดตำนานที่ว่าสินค้าที่จะขาย
ลูกค้ากระเป๋าหนักวัย 35 upต้องดูน่าเชื่อถือไปแล้วเรียบร้อย
สรุปได้ว่าจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา และโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีมานี้
การออกแบบไม่มีทฤษฎีที่ต้องเดินตาม แต่คุณสามารถสร้างทฤษฎีใหม่ได้เสมอ
Packaging Design ที่จะโดนใจลูกค้า ขอให้มี Gimmick ที่ทำให้ดึงดูด
จะเทคนิคไหนก็ได้ ดีไซน์ที่ wow จะเห็นแล้วรู้สึกได้เลย